วันจันทร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2555

การกรอกข้อมูลความสามารถใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้และนำเสนองาน

                  ขอความกรุณาทุกโรงเรียน กรอกข้อมูลจำนวนนักเรียนด้านความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ในการเรียนรู้และนำเสนอผลงาน โดยใช้ข้อมูลจากผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามมาตรฐานที่ 3 ตัวบ่งชี้ที่ 3.4 ในปีการศึกษา 2554  กรอกข้อมูลจำแนกตามระดับชั้น และระดับผลการประเมิน
                                         
                          คลิกเพื่อกรอกข้อมูล



วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2555

แนวทางการจัดกิจกรรมเพื่อฝึกคิดแก้ปัญหา


แนวทางการจัดกิจกรรมเพื่อฝึกคิดแก้ปัญหา

          เรามักได้ยินอยู่เสมอเมื่อผลการทดสอบในระดับต่าง ๆ ออกมาในแต่ละปี ไม่ว่าจะเป็นการสอบ NT (National Test) การสอบขั้นพื้นฐานระดับชาติ O-NET (Ordinary National Education Test) การทดสอบตามโครงการประเมินนักเรียนนานาชาติ (PISA) ว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนต่ำ ผลไม่เป็นที่น่าพอใจ เด็กไทยคิดไม่เป็น แก้ปัญหาไม่ได้ ซึ่งสุดท้ายผลมาตกที่ครูผู้เป็นจำเลยสังคมว่า ครูไม่สามารถสอนให้เด็กคิดเป็นและแก้ปัญหาได้  หากแต่ความเป็นจริงแล้วการพัฒนาคุณภาพการศึกษา จำเป็นที่ทุกฝ่ายต้องมีส่วนร่วมกันรับผิดชอบและร่วมกันลบข้อกล่าวหาดังกล่าว ทั้งครู ผู้บริหาร ผู้ปกครอง ตัวนักเรียนเอง ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาทุกระดับ

          การคิดแก้ปัญหา  หมายถึง  ความสามารถทางสมองที่จะคิดพิจารณาไตร่ตรองอย่างพินิจพิเคราะห์ถึงสิ่งต่างๆ ที่เป็นปมประเด็นสำคัญที่ทำให้สภาวะความไม่สมดุลเกิดขึ้น โดยพยายามหาหนทางคลี่คลายขจัดปัดเป่าประเด็นสำคัญเหล่านั้นให้กลับเข้าสู่สภาวะสมดุล หรือสภาวะที่เราคาดหวังนักการศึกษา ได้เสนอแนวทางการจัดกิจกรรมเพื่อฝึกคิดแก้ปัญหา สรุปได้ดังนี้

1.    ฝึกคิดตั้งคำถาม กระตุ้นให้นักเรียนตั้งคำถาม ครูอาจนำภาพ อ่านเรื่อง บทความ ดูเรื่องสั้น แล้วให้นักเรียนฝึกการตั้งคำถาม ในขั้นตอนนี้ครูต้องกระตุ้นให้นักเรียนคิดคำถามออกมาให้ได้มากๆ โดยคำถามเหล่านั้นต้องเป็นสิ่งที่หาคำตอบได้ โดยใช้กระบวนการแสวงหาความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์

2.     ฝึกการพูดคุยปรึกษาหารือ ฝึกการอภิปรายโดยใช้เหตุผล ในการค้นหาคำตอบ ฝึกให้นักเรียนรู้จักวิจารณ์ 

3.    ฝึกการรวบรวมข้อมูล ค้นหาว่าอะไรคือปัญหา อะไรคือสาเหตุของปัญหา

4.    ฝึกการตรวจสอบข้อมูล แหล่งข้อมูล ความเป็นไปได้ ความน่าเชื่อถือของข้อมูล

5.    ฝึกให้นักเรียนรู้การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และฝึกให้รู้จักแสดงความคิดเห็น 

6.    จัดสิ่งเร้าหรือการกระตุ้นที่ดี  เสนอปัญหาหรือประเด็นที่ท้าทายน่าสนใจและมีวิธีการแก้ปัญหาได้หลายวิธีมาให้นักเรียนฝึก

7.    จัดบรรยากาศหรือจัดสิ่งแวดล้อมให้สามารถเปลี่ยนแปลงได้  เพื่อให้นักเรียนมีความรู้สึกว่าเขาสามารถคิดค้นเปลี่ยนแปลง  และมีอิสระในการคิด  กล้าคิด กล้าแสดงออก

ทั้งนี้ครู หรือผู้ปกครองควรส่งเสริมความมั่นใจของเด็ก ด้วยการให้ความสำคัญ รับฟัง และอย่าเพิ่งบอกว่าสิ่งที่เขาคิดนั้นผิด ไม่ถูกต้อง เพราะเมื่อเขาสูญเสียความมั่นใจ จะทำให้เด็กไม่กล้าคิดที่สำคัญอาจไปปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์ของเด็กโดยไม่รู้ตัว